สาธารณสุขร้อยเอ็ด เปิดศูนย์ EOC ไข้เลือดออก เร่งรัดดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก


สาธารณสุขร้อยเอ็ด เปิดศูนย์ EOC ไข้เลือดออก
 เร่งรัดดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก


   เมื่อวันที่ ๒๐ ก.ค.๒๕๖๑  เวลา ๑๔.๓๐ น. นพ.ปิติ  ทั้งไพศาล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานในการประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินและระบบบัญชาการเหตุการณ์ในสภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขโรค(EOC)ไข้เลือดออก จังหวัดร้อยเอ็ด  ระดับจังหวัด  ครั้งที่ ๑  ณ ห้องประชุมแก้วมุกดา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
   นพ.ปิติ กล่าวถึงสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกประเทศไทย ประจำสัปดาห์ที่ ๒๗ ปี ๒๕๖๑ (ข้อมูล  ณ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑)  พบจำนวนผู้ป่วย ๓๒,๒๑๖ ราย ตาย ๔๑ ราย อัตราป่วย ๔๘.๙๔ ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตาย ร้อยละ ๐.๑๓ มากกว่าปี ๒๕๖๐ ร้อยละ ๔๔.๑๐  (๑.๔๔ เท่า ในระยะเวลาเดียวกัน)  ภาคใต้มีอัตราป่วยสูงสุด ๕๗.๕๔ ต่อแสนประชากร  รองลงมา ภาคกลาง ๕๖.๖๕   ภาคเหนือ ๕๔.๘๗   และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๓๔.๑๓ ตามลำดับ  การเกิดโรค ส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ ๑๐-๑๔ ปี รองลงมาได้แก่กลุ่มอายุ ๕ -๙ ปี  และกลุ่มอายุ ๑๕ ๒๔ ปี ตามลำดับ
ส่วนสถานการณ์ไข้เลือดออกจังหวัดร้อยเอ็ด (ข้อมูล ๑ มกราคม ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๑) พบการระบาด มีรายงานผู้ป่วย ๖๓๓ ราย อัตราป่วย ๔๘.๓๗ ต่อแสนประชากร  กระจายใน ๑๙ อำเภอ อำเภอที่พบผู้ป่วยมาก ๕ อันดับแรกได้แก่ หนองฮี  หนองพอก เชียงขวัญ  ธวัชบุรี  และสุวรรณภูมิ  อำเภอที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยได้แก่ อ.เมยวดี  หลายพื้นที่มีการระบาดเป็นกลุ่มๆ  มากกว่า ๒ ราย  ขณะนี้สถานการณ์ระบาดของไข้เลือดออก จังหวัดร้อยเอ็ด อยู่ลำดับที่ ๑ ของเขตสุขภาพที่ ๗  ลำดับที่ ๓ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และลำดับที่ ๓๒ ของประเทศ
  ด้านการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ได้ผลนั้น  ควรเริ่มต้นที่เราก่อน คือ เริ่มต้นจากที่อยู่อาศัย หมายถึงที่บ้าน ที่ทำงาน สถานที่ราชการ โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกียวข้อง ควรกระทำเป็นตัวอย่าง ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาล และที่ว่าการอำเภอ  โดยการรณรงค์ในเรื่อง ๕ ส. และใช้มาตรการ ๓ เก็บ คือเก็บบ้านให้สะอาด โปร่ง โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบ เป็นที่เกาะพักของยุงลาย  เก็บขยะ เศษภาชนะรอบบ้าน ทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย  และเก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิดหรือปล่อยปลากินลูกน้ำ เพื่อป้องกันยุงลายไปวางไข่



   ในระดับอำเภอ ให้ดำเนินการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในรูปแบบของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) มีนายอำเภอเป็นผู้สั่งการ ใช้พลัง บวร คือ บ้าน วัด และโรงเรียน  โดยมีสาธารณสุขเป็นแกนหลัก ดำเนินการควบคุมการระบาด การดูแลรักษาผู้ป่วย ร่วมมือและสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนการติดตามและประเมินผล การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ได้ผลนั้น  ควรเริ่มต้นที่เราก่อน คือ เริ่มต้นจากที่อยู่อาศัย หมายถึงที่บ้าน ที่ทำงาน สถานที่ราชการ โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกียวข้อง ควรกระทำเป็นตัวอย่าง ได้แก่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาล และที่ว่าการอำเภอ  โดยการรณรงค์ในเรื่อง ๕ ส. และใช้มาตรการ ๓ เก็บ คือเก็บบ้านให้สะอาด โปร่ง โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบ เป็นที่เกาะพักของยุงลาย  เก็บขยะ เศษภาชนะรอบ
บ้าน ทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย  และเก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิดหรือ    ปล่อยปลากินลูกน้ำ เพื่อป้องกันยุงลายไปวางไข่
  ส่วนสถานการณ์ไข้เลือดออกจังหวัดร้อยเอ็ด (ข้อมูล ๑ มกราคม ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๑) พบการระบาด มีรายงานผู้ป่วย ๖๓๓ ราย อัตราป่วย ๔๘.๓๗ ต่อแสนประชากร  กระจายใน ๑๙ อำเภอ อำเภอที่พบผู้ป่วยมาก ๕ อันดับแรกได้แก่ หนองฮี  หนองพอก เชียงขวัญ  ธวัชบุรี  และสุวรรณภูมิ  อำเภอที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยได้แก่ อ.เมยวดี  หลายพื้นที่มีการระบาดเป็นกลุ่มๆ  มากกว่า ๒ ราย  ขณะนี้สถานการณ์ระบาดของไข้เลือดออก จังหวัดร้อยเอ็ด อยู่ลำดับที่ ๑ ของเขตสุขภาพที่ ๗  ลำดับที่ ๓ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  และลำดับที่ ๓๒ ของประเทศ
จากนั้น ที่ประชุมได้รวมพลังรณรงค์ประชาสัมพันธ์การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและร่วมกิจกรรมตรวจหาและกำจัดลูกน้ำยุงลาย.





////////////////////////////////////
พิมลสิริ มณีฉาย พีอาร์ สสจ.ร้อยเอ็ด    ภาพ/ข่าว


ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.