นครสวรรค์ ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคป้องกันไข้หวัดนกในบึงบอระเพ็ด


จังหวัดนครสวรรค์ ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในบึงบอระเพ็ด

นายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์ พิษณุ ตุลยวณิช ปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ นายธนิตย์ หนูยิ้ม ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 นครสวรรค์ นายจิระเดช บุญมาก หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ประมงจังหวัดนครสวรรค์ และเจ้าหน้าที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดนครสวรรค์ ลงพื้นที่ เกาะวัด เกาะสมิทธ ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จัดกิจกรรมพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยงบึงบอระเพ็ดซึ่งเป็นแหล่งที่นกอพยพมาอยู่อาศัย ตามโครงการรณรงค์ทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคไข้หวัดนกในพื้นที่เสี่ยงประจำปีของกรมปศุสัตว์ ประจำปี 2561
ในช่วงย่างเข้าสู่ฤดูหนาวของทุกปี บึงบอระเพ็ดจะมีนกประจำถิ่นและนกอพยพจากต่างประเทศหลายสายพันธ์กว่า 50 ชนิด จำนวนมากกว่า 3,000 ตัว เช่น นกปากห่าง นกยางโทนใหญ่ นกยางโทนน้อย นกยางเปีย นกกาน้ำเล็ก นกกาน้ำปากยาว นกกระสาแดง นกอ้ายงั่ว เป็นต้น ทางสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ จึงได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องร่วมกันนำเครื่องมืออุปกรณ์ เช่น เรือ เครื่องพ่นยาแรงดันสูง ออกปฏิบัติการรณรงค์พ่นยาฆ่าเชื้อสถานที่นกอาศัยในบึงบอระเพ็ด เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก สร้างความมั่นใจและความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ประชาชน และนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมบึงบอระเพ็ด
สำหรับบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ทั้งหมด 132,737 ไร่ เป็นบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกประจำถิ่นจำนวนมากและเมื่อถึงฤดูหนาวจะมีนกอพยพจำนวนมากมาปักหลักอาศัยชั่วคราวและในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป จะถึงฤดูกาลท่องเที่ยวซึ่งทางเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจึงได้มีการเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้ไข้หวัดนกที่อาจจะมาพร้อมกับนกอพยพแพร่ระบาดสู่นักท่องเที่ยวและชาวบ้านในรอบพื้นที่บึงบอระเพ็ด



////อัมพณ จับศรทิพย์ รายงาน 0619525644//////
..........................................................................................................................................................
สัมภาษณ์ อรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์

ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.