กลุ่มชาวบ้านรุมกดดันให้ย้ายโรงเรียน A.M.E.C สำเร็จ

กลุ่มชาวบ้านรุมกดดันให้ย้ายโรงเรียน A.M.E.C สำเร็จ

       วันนี้(17 พ.ค.61) ที่บริเวณด้านหน้าโรงเรียนอนุบาลเชียงราย(สันทรายราษฎร์อรุณา
นุเคราะห์) หรือ A.M.E.C เลขที่ 221 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ต.สันทรายน้อย อ
.เมือง จ.เชียงราย กลุ่มชาวบ้านจำนวนประมาณ 30 คน นำโดยนางพรสรรค์ พัวพันพัฒนา
ทายาทผู้บริจาคที่ดินก่อสร้างโรงเรียน เมื่อหลายสิบปีก่อน ได้นำเต็นท์มากางที่บริเวณ
ด้านหน้าป้ายของโรงเรียน โดยมีการติดป้ายประกาศ เพื่อกดดันให้ผู้ปกครองเด็กนักเรียน
A.M. A.C. นำบุตรหลานย้ายไปเรียนรวมกับโรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย สัน
ทรายราษฎร์ดรุณานุเคราะห์ เลขที่ 197 หมู่ 9 ตำบลสันทราย อำเภอเมือง จังหวัด
เชียงราย ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นสังกัด ที่ตั้งห่างออกไปประมาณ 2 กิโลเมตร หรือไม่ก็ต้อง
ย้ายไปหาสถานที่เรียนที่อื่นๆ แทนซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่สมาคมผู้ปกครอง
และครู โรงเรียนอนุบาลไม่บรรลุข้อตกลงกับตัวแทนชาวชุมชน กรณีที่โรงเรียนอนุบาล
A.M. A.C.ต้องย้ายสถานที่ไปตั้งที่อื่นโดยไม่ใช่สถานที่เดิมโดยมีเงื่อนไขของ
ระยะเวลาที่ต้องดำเนินการภายใน 1 ปีหรือเร็วกว่านั้น

        นางพรสรรค์ พัวพันพัฒนา กล่าวว่า ที่พวกตนพากันมาในวันนี้ ก็เพื่อจะแสดง
เจตนารมณ์ว่า จะขอให้ผู้บริหาร A.M.E.C คืนพื้นที่แห่งนี้ เพื่อชาวบ้านจะนำไปใช้
ในการทำกิจกรรมของของชุมชน  ที่ผ่านมา 15 ปีพวกตนและชาวบ้านไม่สามารถเข้าไป
ใช้พื้นที่ของโรงเรียนแห่งนี้ได้ซึ่งที่ผ่านมาทางคณะผู้บริหารไม่อนุญาตให้พวกตนเข้ามา
ทำกิจกรรมทุกประเภท แม้แต่จะเข้ามาไหว้พระก็ยังไม่ได้ พวกตนเข้าใจว่าพวกตนถูก
ละเมิดในการใช้พื้นที่แห่งนี้ สำหรับกิจกรรมในวันนี้ จะเป็นการชุมนุมอย่างสงบ ยืนยันว่า
จะไม่มีการเดินทางเข้าไปก่อกวนภายในโรงเรียนแต่อย่างใดทั้งสิ้น ทั้งนี้การดำเนิน
กิจกรรมดังกล่าวเป็นการส่งสัญญานไปยังผู้บริหารและผู้ปกครองให้ทำการย้ายบุตรหลาน
ไปเรียนที่โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย สันทรายราษฎร์ดรุณานุเคราะห์ ที่ได้จัดเตรียม
สถานที่เรียนไว้ให้เด็กนักเรียนแล้วและหากผู้บริหารสถานศึกษาแห่งนี้ มีที่อื่นที่คิดว่า
เหมาะสมก็ขอให้ย้ายออกไปทันทีภายในวันนี้ หากไม่ดำเนินการตามที่พวกตนร้องขอจะมี
มาตรการทางกฏหมายเข้ามาจัดการ เนื่องจากเราพบหลักฐานว่ามีการกระทำผิดหลาย
อย่าง มีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายคน ทั้งข้าราชการซึ่งหลักฐานไปถึงใครเราก็จะเอาผิดทุกคน

ทางด้าน นายแพทย์ชวน  ชีพเจริญรัตน์ นายกสมาคมผู้ปกครองและครู A.M.E.C
ซึ่งเป็นสมาคมที่บริหารสถานศึกษาเเห่งนี้ กล่าวว่า สถานศึกษาแห่งนี้ ได้เปิดทำกันเรียน
การสอน เป็นห้องเรียนพิเศษ ภาษาอังกฤษ ตามนโยบายปฏิรูปการศึกษาของกระทรวง
ศึกษาธิการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2455 โดยกลุ่มผู้ปกครองกลุ่มหนึ่ง ได้เล็งเห็นถึงการพัฒนาการ
ศึกษา โดยใช้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ให้สมวัย เน้นการพัฒนาร่างกาย อารมณ์ ให้
อยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีคุณภาพ ปรับตัวรองรับการเข้าสู่ระบบการศึกษาตามที่ตนเองถนัด
และมีความต้องการศึกษาต่อไปในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งได้ขอใช้พื้นที่ของ”
โรงเรียนสันทรายน้อย” (ชื่อเดิมในสมัยนั้น) ซึ่งไม่มีเด็กนักเรียนมาเข้าเรียน และได้
ปิดตัวเองลงไปแล้วถึง 6 ปี เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน และเนื่องจาก
กฏระเบียบของราชการ เราจึงยังไม่สามารถแยกออกมาเป็นโรงเรียนโดยอิสระได้ ด้วย
ความมุ่งมั่นที่จะ สร้างระบบการศึกษาให้ทันสมัย จึงได้รับความกรุณาจากอดีตผู้อำนวย
การโรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย (สันทรายราษฎร์ดรุณานุเคราะห์) ในสมัยนั้น ใช้สถาน
ที่แห่งนี้เป็นห้องเรียนพิเศษของโรงเรียนฯ เพื่อเปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตร
อินเตอร์ เป็นภาษาอังกฤษ โดยในช่วงเริ่มต้นของการเปิดการเรียนการสอนมีนักเรียนเข้า
เรียนเพียง 8 คนเท่านั้น แต่ทางคณะผู้บริหารมีปฏิภาณอันแนวแน่ที่จะปฏิรูปการศึกษาที่
ตอบสนองความรู้ความสามารถตามความถนัดของบุตรหลาน โดยมีการเรียนการสอนเป็น
หลักสูตรภาษาอังกฤษ จึงได้มีการจ้างครูชาวต่างชาติเจ้าของภาษา เข้ามาสอนภาษา
อังกฤษ ควบคู่กับครูคนไทย ในอัตราจ้างเริ่มต้น 33,000 - 35,000 บาท ผลการเรียน
การสอนระยะ 15 ปี นักเรียนของเราสามารถคว้ารางวัลด้านการศึกษามาหลายรางวัลทั้ง
มีมาตรฐานสูงเกินเกณฑ์ของกระทรวงอีกด้วย  จึงได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ปกครอง นำ
บุตรหลานมาสมัครเรียนเป็นจำนวนมากโดยก่อนเกิดเรื่องนี้ โรงเรียนของเรามีนักเรียนถึง
180 คน แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น กลุ่มชาวบ้านบางคนได้มาปักหลักอยู่บริเวณทางเข้า
โรงเรียนทำให้ผู้ปกครองหลายท่านนำบุตรหลานไปเรียนที่อื่นจนทุกวันนี้เหลือนักเรียน
หญิง-ชายเพียง 70 คนซึ่งผู้ปกครองยังคงมั่นใจและเชื่อมั่นในการเรียนการสอนที่จะประสิ
ทธฺ์ประศาสน์วิชาให้ลูกหลานของตนเติบโตขึ้นมาเป็นคนคุณภาพ ส่วนกรณีที่ถูกบางคน
กล่าวอ้างว่าทางโรงเรียนไม่อนุญาตให้ชาวบ้านเข้ามาใช้สถานที่จัดกิจกรรมเพื่อชุมชนนั้น
ไม่เป็นความจริงเพราะที่ผ่านมาทางโรงเรียนอนุญาตให้ชาวชุมชนมาใช้งานพื้นที่ใน
โรงเรียนตลอดเพียงแต่ขอทำเรื่องเข้ามา ทุกวันนี้สนามฟุตบอลของโรงเรียนหลังเลิก
เรียนชาวบ้านระแวกนี้ก็ใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกายกันทุกเย็น  นอกจากนี้ที่ผ่านมา เรา
ยังให้ทุนการศึกษาแก่บุตรหลานของคนในพื้นที่เรียนฟรีร้อยละ 3 ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้
บุตร/หลาน คนในพื้นที่ให้มีโอกาสศึกษาในหลักสูตรภาษาอังกฤษ มีความรู้ทัดเทียมกับ
โรงเรียนชั้นนำของประเทศ
     รายงานข่าวแจ้งว่า เหตุการณ์ความขัดแย้งของโรงเรียน A.M.A.C.กับ
โรงเรียนแม่อย่างโรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย สันทรายราษฎร์ดรุณานุเคราะห์เกิดขึ้น
มาหลายปีหลังจากที่ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงรายท่านใหม่มาบริหารมีแนวคิด
ในการรวมอำนาจในการบริหารจัดการด้านการเรียนการสอนโดยจะเข้ามาดำเนินการ
บริหารเองแต่เมื่อมีการประชุมหารือกับผู้ปกครองร่วมกับสมาคมครูและผู้ปกครองโรงเรียน
A.M.A.C กับผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย สันทรายราษฎร์ดรุ
ณานุเคราะห์ผลปรากฏว่าผู้ปกครองมีมติให้สมาคมฯเป็นผู้บริหารจัดการการเรียนการสอน
เอง ต่อมากับพบว่ามีการละเมิดมติที่ประชุมจนเป็นเหตุเกิดการฟ้องร้องเกิดขึ้น โรงเรียน
ยังคงมีความพยายามที่จะย้ายสถานที่จัดการเรียนการสอน โดยให้นักเรียนของ
A.M.A.C.ย้ายไปเรียนที่ โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงรายฯ ภายหลังจากมีการปรับ
ปรุง ก่อสร้าง อาคารสถานที่เรียนแห่งใหม่เสร็จสิ้นลงแต่ก็ยังตกลงกันไม่ได้ ในเรื่องแผน
การบริหาร โดยทางฝ่ายผู้บริหารสมาคมฯ ขอส่งตัวแทนเข้าไปเป็นคณะกรรมการสถาน
ศึกษา อย่างน้อย 1 คน เพื่อติดตามแผนงานและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาให้มีมาตรฐาน
ใกล้เคียงกับที่ได้รับจากการเรียนในสถานที่เดิมแต่ก็ได้รับการปฏิเสธ  ต่อมาได้มีการนำ
ป้ายประกาศคำสั่งจากผู้บริหารของโรงเรียนไปติดที่ด้านหน้าของรั้วห้องเรียนพิเศษแห่งนี้
ให้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงรายฯ จนเป็นข่าวดังไปก่อนหน้านี้ จึงเกิด
ขบวนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ที่ผ่านมา นายสุรศักดิ์ อิน
ไกรศรี ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เชิญ นายนพรัตน์ อู่ทอง
ศึกษาธิการจังหวัดเชียงราย นายลิขิต มีเสรี ผอ.กลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรม จ.เชียงราย
พร้อมด้วย นายแพทย์ชวน ชีพเจริญรัตน์ พร้อมคณะกรรมการสมาคมฯ และ ตัวแทนชาว
ชุมชนร่วมประชุมเพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยมติที่ประชุมในวันนั้นกำหนดมาตรการ
แก้ไขปัญหา 4 ข้อด้วยกัน 1.ให้เรียกประชุมผู้ปกครองชี้แจ้งทำความเข้าใจในการยุบ
โรงเรียน A.M.A.Cไปรวมกับโรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงรายฯ 2.หากผู้ปกครอง
ทราบแล้วและมีความประสงค์จะนำบุตรหลานย้ายไปเรียนที่โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย
สามารถย้ายไปเรียนได้ทันที 3.หากผู้ปกครองยังมีความประสงค์ให้บุตรหลานเรียนอยู่ที่ 
A.M.A.C ก็จะให้เวลาอีก 1 ปีในการจัดการเรียนการสอนเพื่อลดภาระให้กับผู้
ปกครองและข้อที่ 4.ให้ผู้บริหารสมาคมออกไปตั้งโรงเรียนใหม่ในสถานที่ใหม่ภายใน 1 ปี
โดยห้ามใช้สถานที่เดิม แต่กลับพบว่ามีชาวบ้านบางส่วนไม่เข้าใจและต้องการให้ย้าย
โรงเรียนในเร็ววันนี้จึงได้มารวมตัวกดดันซึ่งตนเองและผู้บริหารสมาคมฯ ขอความเห็นใจ
ผู้ปกครองและนักเรียน ที่ต้องหาที่เรียนใหม่ซึ่งเวลากระชั้นชิดเกินไปจนผู้ปกครองไม่
สามารถหาที่เรียนให้บุตรหลานได้ทันทั้งครูผู้สอนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติที่ทาง
โรงเรียนได้ทำสัญญาจ้างสอนไว้ยังไม่หมดสัญญาและหากต้องเลิกสอนการครันครูผู้สอน
ต้อวตกงาน  สมาคมฯ ไม่ได้ดื้อแพ่งพร้อมยินยอมที่จะย้ายออกไปตั้งโรงเรียนใหม่ จึงขอ
ระยะเวลาในดำเนินการจัดเตรียมสถานที่แห่งใหม่ ในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี แต่ก็ถูกชาว
บ้านบางกลุ่มคัดค้านไม่ยินยอม โดยขอให้ย้ายออกไปภายในทันที
     สำหรับบรรยากาศโดยทั่วไปของการชุมนุมพบว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารจากมณทลทหาร
บกที่ 37 ค่ายเม็งรายมหาราชพร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภ.เมืองเชียงราย เฝ้าดูแล
ความสงบเรียบร้อยรวม 3 นาย ในขณะที่ผู้ปกครองบางส่วนได้ร่วมหารือและให้กำลังใจ
ซุึ่งกันและกันภายในโรงเรียนอีกด้วย

     ล่าสุดหลังจากชาวบ้านได้ร่วมกันกดดันอย่างหนักทำให้โรงเรียน A.M.A.C.
ต้องปิดการเรียนการสอนโดยไม่มีกำหนดทำให้นักเรียนทั้งหมดต้องหยุดเรียนซึ่งทีมงานผู้
บริหารโรงเรียนดังกล่าวต้องเร่งหาสถานที่เพื่อจัดตั้งโรงเรียนแห่งใหม่อย่างเร่งด่วนต่อ
ไป.....




  จักรภัทร ข่าว/ภาพ

ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.