น้ำตานองในการแถลงการณ์ !! เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนอำเภอเขาค้อ

น้ำตานองในการแถลงการณ์ !! เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนอำเภอเขาค้อ
   เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 14 พฤษภาคม 2561นายสมศักดิ์ ทองจันทร์ ประธานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนอำเภอเขาค้อ ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานแถลงข่าว ณ วัดราชพฤกษ์ ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีราษฎรอาสาสมัครร่วมรบหรือ(รอส.)พร้อมด้วยลูกหลานราษฎรอาสาสมัครฯเข้าร่วมกว่า 300 คน มีสื่อมวลชนจากสำนักต่างๆเข้าร่วมสังเกตการณ์ โดยมี มิสวรรณวิมล ครุฑางคะ ผู้อำนวยการโรงเรียนกุลดิศวิทยานุสรณ์เป็นพิธีกรและก่อนถึงช่วงเวลาแถลงข่าวได้มีการกล่าวถึงความเป็นมาในพื้นที่สมรภูมิเลือดของเขาค้อจากอดีตถึงปัจจุบัน จากนายโสภา เปรมโสภณราษฎรอาสาสมัครร่วมรบ ที่เป็นหนึ่งในจำนวน 325 คน ที่ยังมีชีวิตอยู่ จากทั้งหมด 1,525 คน โดยกล่าวด้วยน้ำตานองหน้าเมื่อนึกถึงเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา นึกถึงเพื่อนที่เคยสู้รบด้วยกันและยิ่งเจ็บปวดมากเมื่ออาสาสมัครช่วยรบอย่างพวกตนได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บุกรุกป่าสงวนฯทั้งๆที่ก่อนหน้านี้พวกตนเป็นผู้บุกเบิก ฝ่าฟันอุปสรรคความลำบากมาอย่างมากมาย จากนั้นนายไสว สีอาสา รอส.คนที่สองได้พูดถึงความเป็นอยู่ของ รอส.เขาค้อ กับการคับแค้นใจในข่าวที่ว่าจะปลด รอส.ซึ่งเหมือนกับว่าเสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล, จากนั้นนายไพศาล เพชรวารา ทนายความ ได้ชี้แจงข้อมูลว่าสังคมได้รับข่าวสารเพียงด้านเดียวจากฝากฝั่งเจ้าหน้าที่รัฐ ว่าการบุกรุกที่ดิน บุกรุกป่าต้นน้ำชั้น 1-2 เกิดจากคนเขาค้อ และต่อด้วย ดร.เนรมิต พรมทา รองประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาค้อได้ลำดับขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาที่ดินเขาค้อโดยสันติวิธีของสภาองค์กรชุมชน 4 ตำบล ตามด้วยนางนงลักษณ์ เกิดแก้ว ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 ตำบลหนองแม่นาได้กล่าวความรู้สึกของชาวบ้านในฐานะตัวแทนชาวบ้านเขาค้อ และนางบุปผา จันทร์เพ็ญข้าราชการครูบำนาญ ประธานชมรมคนรักษ์เขาค้อ เป็นตัวแทนของทายาทราษฎรอาสาสมัครหรือ รอส.กล่าวความรู้สึกและปิดท้ายด้วยนาย กองเซ้งปราชญ์ทางธรรมชาติที่มีความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจราชการไทยว่าชาวบ้านทำอะไรก็ผิดไปหมดคล้ายๆจะไม่ให้พวกเราลืมตาอ้าปากได้เลยและถ้าไม่มีรีสอร์ทชาวบ้านก็เดือดร้อนไม่มีรายได้จึงอยากให้ทางราชการส่งเสริมการท่องเที่ยวต่อไป
     จากนั้นนายปรีชา เดชบุญ ที่ปรึกษาเครือข่ายฯ ได้อ่านแถลงการณ์ จากกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐหลายท่านได้ให้สัมภาสน์กับผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับคนเขาค้อว่าบุกรุกป่าสงวนฯที่เป็นป่าต้นน้ำอันเป็นเหตุให้คนเขาค้อได้รับผลกระทบด้านสังคมและเสียหายต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเขาค้อ และของประเทศในที่สุด เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนอำเภอเขาค้อ ซึ่งประกอบไปด้วยบุคลในหลากหลายอาชีพที่อาศัยอยู่บนเขาค้อ อันประกอบไปด้วย ราษฎรอาสาสมัครหรือ(รอส.) ทายาท รอส. เกษตรกรในพื้นที่ ข้าราชการบำนาญ ผู้ประกอบการบ้านพักจึงขอชี้แจงข้อเท็จจริงและขอให้สื่อสารมวลชนให้ความเป็นธรรมในกรณีดังกล่าวด้วย โดยมีเนื้อหา 8 ข้อ ประกอบไปด้วย  1.หลังจากสมรภูมิการสู้รบในปี 2525 สงบลงแล้ว ในปี 2526 ทหารได้นำพาราษฎรอาสาสมัครช่วยรบ(รอส.)ขึ้นมาอยู่บนเขาค้อ  2.เรื่องมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 18 มกราคม 2509 และ 25 มกราคม 2518 อนุญาตให้กรมทางหลวงทำถนนและกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เขต 3 จัดสรรให้ราษฎรทำกินและอยู่อาศัยในเขตป่าหมายเลข 22 โดยให้ผู้รับอนุญาตปฏิบัติตามเงื่อนไข 10 ข้อ อันมีสาระสำคัญและจำเป็นทางกฎหมาย โดยเฉพาะใน ข้อ 9 ดังนี้ “เนื่องจากบริเวณที่ได้รับอนุญาตเป็นป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ เมื่อบริเวณดังกล่าวประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติแล้วเมื่อใด และผู้รับอนุญาตยังมีความประสงค์ที่จะใช้พื้นที่ดังกล่าว เพื่อการสร้างทางหรือจัดที่ดินให้กับประชาชนเข้าทำกินและอยู่อาศัยอีก ผู้รับอนุญาตจะต้องยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์ต่อกรมป่าไม้อีกครั้งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507ทันที “ซึ่งในข้อปฏิบัตินี้ปรากฏว่าทางทหารไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการขอใช้ใหม่แต่ประการใด” จึงทำให้ราษฎรอาสาสมัคร(รอส.)และหน่วยงานรัฐที่ได้รับอนุญาตจากทหาร จำนวน 83 แห่งบนเขาค้อ ต้องตกอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติฯทั้งหมด 3.เรื่องป่าไม้ในพื้นที่เขาค้อถูกทำลายไปก่อนหน้าที่ทหารจะได้รับอนุญาต จากการให้สัมปทานป่าไม้กับภาคเอกชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507-2509 และจากการสู้รบในสมรภูมิโดยทหารใช้ระเบิดนาปาล์มและจากการโค่นต้นไม้ไปทำบ้านให้กับ รอส. หมู่บ้านละ 50 หลังคาเรือนรวมทั้งหมด 32 หมู่บ้าน ตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก  4. เรี่องพื้นที่ของเขาค้อได้เปลี่ยนไปตามกาลเวลาและสภาวะที่สมบูรณ์ทางธรรมชาติ รอส.ได้ถูกทอดทิ้งขาดการเหลียวแลจากทหาร การประกอบอาชีพทางการเกษตรมีข้อจำกัดและขาดการส่งเสริมที่ต่อเนื่อง ประกอบกับการที่ราชการส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยว คนเขาค้อเกิดสภาวะหนี้สินเอาตัวไม่รอด บ้างครอบครัวจึงได้เสนอขายที่ดินให้กับผู้ที่หลงใหลในภูมิอากาศที่บริสุทธิ์ของเขาค้อ จนบัดนี้บางส่วนกลายมาเป็นที่พักตากอากาศส่วนตัว และรีสอร์ทในที่สุด จึงทำให้ รอส.ผิดเงื่อนไข 9 ข้อ ที่เป็นเพียงเงื่อนไขอันมิใช่กฎหมายใดๆทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการผิดเงื่อนไขสัญญาเฉกเช่นเดียวกันกับทหารผิดเงื่อนไขกับกรมป่าไม้เช่นกัน 5.เรื่องผลกระทบจากการที่เจ้าหนย้าที่รัฐ ปฏิบัติการแจ้งความดำเนินคดีตามแผนจากการประชุมร่วม เมื่อ 6 กันยายน 2560 และเริ่มปฏิบัติการตรวจสอบแจ้งดำเนินคดีเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2561 เป็นการทำงานที่ไม่เป็นไปตามสัจจะวาจาที่ทหารได้พูดไว้ที่ ชค.(สี่แยกรื่นฤดี) 6.สภาองค์กรชุมชนทั้ง 4 ตำบลในพื้นที่ ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินโดยสันติวิธี ตามระเบียบของกรมป่าไม่ มาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. ป่าสงวนฯ พ.ศ.2507ตั้งแต่การเก็บข้อมูลการครอบครองพื้นที่ในปัจจุบันและข้อมูลพื้นที่ ที่เปลี่ยนมือไป 7.การขอใช้พื้นที่ตามข้อ 6 ยังไม่ได้รับหนังสือตอบที่ชัดเจนจากหน่วยงานกรมป่าไม้ และข้อ 8.เป็นการเสนอแผนการพัฒนาของเครือข่ายสภาองค์กรฯ ประกอบไปด้วยเสนอให้ อบต.หนองแม่นา และ อบต.เขาค้อเป็นผู้ขอใช้ประโยชน์ฐานะเป็นนิติบุคคล ในท้องถิ่น และมีบุคลากรพร้อมที่จะบริหารจัดการที่ดินหากได้รับอนุญาต โดยนำร่องในพื้นที่ อบต.หนองแม่นาก่อน (2) จัดสำรวจการครอบครองใหม่โดยใช้ข้อมูลในปัจจุบันเดิม ที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานรัฐ แยกประเภท รอส., ทายาท รอส., ผู้ครอบครองรายใหม่ที่ทำการเกษตร,และผู้ครอบครองรายใหม่ที่ประกอบการ (3) นำเสนอแผนแบบบูรณษการ จากการมีส่วนร่วม นำแผนโครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็กเดิม โครงการศาสตร์พระราชา โครงการเศรษฐกิจพอเพียง มาผสมผสานปรับใช้ ขอใช้เป็นแปลงรวม ทำข้อบัญญัติตำบลและเสนอขอใช้พื้นที่ ตามระเบียบของกรมป่าไม้ต่อผู้มีอำนาจต่อไป.




 /////////////  ข่าวโดย.ศักดิ์ชัย วัชรลิมปกรณ์ // เพชรบูรณ์

ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.