หน่วยจัดการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะจังหวัดตราด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เดินหน้ายุทธศาสตร์ จัดเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดองค์ความรู้ รุ่นที่ 2 “ชุดความรู้การจัดการความปลอดภัยทางถนนในชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน”



หน่วยจัดการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะจังหวัดตราด  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดองค์ความรู้ รุ่นที่ 2 “ชุดความรู้การจัดการความปลอดภัยทางถนนในชุมชน โดยชุมชน  เพื่อชุมชน” ในวันที่ 2 – 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562  ณ ห้องประชุมจามจุรี โรงแรมบ้านปูรีสอร์ท  ตำบลหนองคันทรง  อำเภอเมืองตราด  จังหวัดตราด
นายพีรณัฏฐ์  สิงหพันธ์ หัวหน้าหน่วยจัดการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะจังหวัดตราด พร้อมด้วยนายจีรวัฒน์  แสงจันทร์ ผู้จัดการสมาคมสว่างบุญช่วยเหลือธรรมสถานตราด กล่าวให้การต้อนรับและเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดองค์ความรู้ “ชุดความรู้การจัดการความปลอดภัยทางถนนในชุมชน โดยชุมชน  เพื่อชุมชน” โดยวัตถุประสงค์ของการอบรม มุ่งเน้นและให้ความสำคัญต่อการลดอุบัติเหตุทางถนนโดยเฉพาะถนนสายรอง โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วมการอบรมทั้งหมด 22 หน่วยงาน เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 21 แห่ง ประกอบด้วย 1. อบต.แหลมกลัด 2. ทต.ตะกาง 3. อบต.อ่าวใหญ่ 4. อบต.ห้วงน้ำขาว 5. อบต.หนองคันทรง 6. ทม.ตราด 7. อบต.เขาสมิง 8. อบต.ด่านชุมพล 9. อบต.นนทรีย์ 10. อบต.ไม้รูด 11. ทต.คลองใหญ่
12. อบต.บางปิด 13. ทต.น้ำเชี้ยว 14. อบต.คลองใหญ่ 15. อบต.คลองใหญ่ (แหลมงอบ)
16. ทต.เกาะช้าง 17. อบต.เกาะช้างใต้ 18. อบต.เกาะกูด 19. ทต.ท่าพริกเนินทราย
 20. ทต.บ่อพลอย 21. อบต.แหลมงอบ และสมาคมสว่างบุญช่วยเหลือธรรมสถานตราด โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลชุมชนและรู้ว่าจุดไหนเป็นจุดเสี่ยงที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ตลอดจนเป็นหน่วยงานที่จัดสรรงบประมาณในการจัดทำป้ายแจ้งเตือนจุดเสี่ยง ไฟส่องสว่างยามค่ำคืน สัญญาณเตือนต่างๆในชุมชน และเป็นหน่วยงานหลักที่จะผลักดันการรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนพร้อมกับการดำเนินงานของ สอจร. เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนน ซึ่งผู้เข้าร่วมการอบรมจะได้รับความรู้จากทีมวิทยากรจากหน่วยจัดการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะจังหวัดตราด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


**นายฐิตนันท์  อุดมสุข  หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตราด ชี้แจงถึงการเกิดอุบัติเหตุของประเทศไทยตามสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุของ WHO  โดยในปี 2012 ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 3 ในปี 2015 ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 2 และในปี  2018 ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 9 และสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุในจังหวัดตราดนั้น ในช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมาจากรายงานสรุปอุบัติเหตุของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตราด สามารถสรุปได้ดังนี้ ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 41 ครั้ง บาดเจ็บ 47 คน เสียชีวิต 3 คน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2561 มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 27 ครั้ง บาดเจ็บ 30 คน เสียชีวิต 2 คน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562 มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 39 ครั้ง บาดเจ็บ 43 คน เสียชีวิต 1 คน และจังหวัดตราดก็มีการรณรงค์ลดอุบัติเหตุและเข้มงวดในเรื่องกฎจราจรเพื่อให้จำนวนการเกิดอุบัติเหตุของจังหวัดตราดลดลง
**ผศ.ดร.พงษ์พันธ์ แทนเกษม อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนนและความหมายของจุดเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทางถนน รวมทั้งการหาจุดเสี่ยงในชุมชนเพื่อวิเคราะห์ถึงรูปแบบของการเกิดอุบัติเหตุในจุดเสี่ยง และแนวทางการแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

**ผศ.ดร.กนกพร รัตนสุธีระกุล คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับชุดความรู้คู่มือการแก้ไขจุดเสี่ยงทางถนนในชุมชน ซึ่งเป็นคู่มือที่พัฒนามาจากงานวิจัย โดยในปี 2553 ในชื่อโครงการศึกษาพัฒนาคู่มือการสำรวจจุดเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยทางถนนอย่างมีส่วนร่วม จ.มหาสารคาม ในปี 2556 โครงการวิจัยการศึกษาและพัฒนาชุดความรู้ด้านวิศวกรรมจราจรเพื่อความปลอดภัยทางถนนในชุมชนชนบท ระยะที่ 1
ในปี 2558 ในการวิจัยการศึกษาและพัฒนาชุดความรู้ด้านวิศวกรรมจราจรเพื่อความปลอดภัยทางถนนในชุมชนระยะที่ 2 และในปี 2559 คู่มือการจัดการจุดเสี่ยงทางถนนฉบับปรับปรุง โดยชุดความรู้คู่มือการแก้ไขจุดเสี่ยงทางถนนในชุมชน ประกอบด้วยคู่มือการแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยง คู่มือการจัดการความเร็วและใบงานที่เป็นแนวทางในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงในชุมชน ซึ่งการอบรมทั้งสองวันผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับความรู้อย่างครบถ้วน รอบด้านและสามารถนำไปปรับใช้กับพื้นที่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ


**ในช่วงระยะเวลาสองวันของการอบรมผู้เข้าร่วมได้สะท้อนถึงปัญหาต่างๆในพื้นที่ของตนเองและนำมาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาการของแต่ล่ะพื้นที่ เล่าว่า เกิดจากคนนอกพื้นที่ส่วนใหญ่ ที่ไม่ชำนาญเส้นทาง ความประมาท ขาดวินัย บางพื้นที่ เกิดจาดผู้ประกอบการเช่ารถให้ชาวต่างชาติ พอขับได้ก็ขับขี่ด้วยความประมาท โดยไม่ทราบถึงจุดอันตรายที่มีป้ายเตือนที่เป็นสากล ของป้ายกำกับกำชับเตือนอันตรายใจจุดที่ห้ามและระวัง บางพื้นที่เกิดจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความรวมมือ การอบรมเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้รวมถึงการหาแนวร่วมของชาวบ้านได้ตระหนักถึงความสำคัญการเคารพกฎจราจรสัญญาณเตือนต่างๆ และแก้ไขจุดเสี่ยงของพื้นที่ ที่ตนเองสามารถแก้ไขได้เอง หากไม่ได้ต้องนำเรื่องสู่หน่วยงานที่รับผิดชอบลงมาแก้ไข เชิงบูรณาการร่วมกันทั้ง แขวงการทาง ทางหลวงชนบท ตำรวจผู้บังคับใช้กฎหมาย กรมการขนส่ง องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่ต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังและจริงใจในการแก้ไขร่วมกัน มิใช่เพียงเรื่องของใครคนใดคนหนึ่งแต่ทุกส่วนทุกคนต้องมีส่วนช่วยกันจึงจะสำเร็จบรรลุเป้าหมาย

บทสัมภาษณ์ ผศ.ดร.กนกพร รัตนสุธีระกุล คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าว....
ข่าว/ภาพ นิมิตร คชพร  ทีมข่าวภูมิภาค 13 สยามไทยรอบรั้วภูธร ประจำจังหวัดตราด

ไม่มีความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.